วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และ หลังคลอดบุตร

อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และ หลังคลอดบุตร
- ลูกที่กินนมแม่จะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งเรง ต้านทานต่อโรคได้ดี ไม่ป่วยง่าย
- แม่ที่ให้นมลูก มดลูกจะเข้าอู่เร็วและแม่มีน้ำนมเพียงพอและพร้อมเสมอสำหรับลูก
- น้ำนมแม่มีอุณหภูมิอุ่นพอเหมาะ สดเสมอ พร้อมดื่มทันทีที่ลูกต้องการ
- การให้ลูกกินนมแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องส่วนผสมในนมผงและการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารของลูก
- ลูกแข็งแรง เติบโตเร็ว ได้สารอาหารครบถ้วนเหมาะสมกับลูก
- ควรงดอาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด รักษาอารมณ์ให้คงที่ สม่ำเสมอ ไม่โกรธ ไม่เครียด เพื่อให้น้ำนมหลั่งได้ดี
อาหารขณะตั้งครรภ์
- อาหารสด ผัก ผลไม้สดในทุกฤดูกาล เพิ่มกากใยกันท้องผูก
- ช่วงก่อนสามเดือน ควรกินผักกาดขาว เพื่อสร้างเซลล์สมองให้มีการแตกกิ่ง
อาหารบำรุงน้ำนม
เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมน้ำนมให้ลูกระหว่างตั้งครรภ์ เช่น งาดำบด ซุปงาดำ ต้นอ่อนงา ใบขนุนอ่อน เม็ดขนุน ก้านขนุน 10 ก้านใส่
ในน้ำซุปต้มจืด ช่วยบำรุงกระดูก ต้นอ่อนข้าวสาลีคั้น ผักโขมสด ซุปผักโขม ทับทิม ผักตำลึง ใบชะพลู ถั่วพู ผักบุ้ง เมล็ดฟักทอง เมล็ด
ดอกทานตะวัน เมล็ดป่าน(Flax seed) น้ำมะม่วงสุก ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวมันปู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ข้างฟ่างผลไม้สด กินให้มากเพื่อให้ได้ Food enzyme น้ำตาลธรรมชาติและกากใย
หลังคลอด
- แกงเลียง(เพิ่มใบแมงลัก,ตำลึงและหัวปลี)
- แกงจืดตำลึง ผัดดอกกุ๊ยช่าย ยำหัวปลี
- หุงข้าวพร้หอมวข้าวโพด มันเทศ ฟักทอง เม็ดขนุน เก๋ากี้ 10 เมล็ดต่อ 1 จานข้าว เพื่อบำรุงไตและสายตา
- ผลไม้ควรทานมะม่วงสุก เพื่อสมานรอยแผล
- น้ำคั้นจากขิง กะเพรา ช่วยเพิ่มน้ำนมจากความอุ่น(ฤทธิ์ร้อน) สำหรับขิงควรใช้แต่น้อยช่วยขับน้ำนม ถ้าใช้มากจะเป็นโทษมากกว่าคุณ
ระยะให้นมลูกและให้ลูกได้น้ำนมเพียงพอ
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ(นอน)
- รักษาอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่ซึมเศร้า สดชื่นเสมอ น้ำนมจะหลั่งได้ดี
- หลังคลอดคุณแม่จะสูญเสียพลังหยางขณะคลอด ให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆน้ำนใฃมจะไหลสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารอย่างชาญฉลาด งดอาหารเป็นโทษ เช่น สารพิษจากกรดไขมันทรานส์(ขนม เค้ก คุ๊กกี้) ไอศครีม น้ำแข็ง
ข้อควรระวัง
- งดชะอม เพราะทำให้น้ำนมแห้ง
- หัวหอมใหญ่ อาจทำให้ลูกร้องในสามเดือนแรกเพราะเกิดอาการจุกเสียดท้อง(colic)
- ว่านหางจระเข้จะกระตุ้นการหดตัวของมดลูก ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ใช้ได้เพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นยาระบาย

ขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ Green Health "วารสารตลาดสีเขียว"คุณ เพียงพร ลาภคล้อยมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น